เรื่อง : ศิริลักษณ์ ภู่วาว
ภาพ : ธนนิพันธ์ ทัศไนยเธียรกุล
TCDC ขอนแก่น ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ขอนแก่น ขอพาทุกคนไปรู้จักกับกิจกรรม Lifebrary ห้องสมุดชีวิต กิจกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Human Library หรือ ห้องสมุดมนุษย์ มูลนิธิ Roskilde ประเทศเดนมาร์ก แต่มีการปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับความเป็น TCDC มากขึ้น โดยนำเจ้าของธุรกิจสร้างสรรค์ตัวจริง เสียงจริง มานั่งตอบทุกข้อสงสัยแบบตัวต่อตัว ในธีม “อาชีพนี้ก็มีด้วยหรอ?” หมวดหมู่ “ธุรกิจสายกรีน Green Business”
เมื่อธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลกหรือธุรกิจสีเขียว (Green Business) กำลังเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่อุตสาหกรรมทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะมากกว่าผลกำไรทางธุรกิจ คือการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ และในภาคอีสานของเราเองก็มี Green Business ที่กำลังก่อตัวขึ้น และต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว Lifebrary จึงขออาสาพาคุณไปรู้จักพวกเขาเหล่านั้นแบบเจาะลึก
1. Field MUSH Fun ทุ่งเฮ็ดสนุก ความสุขปลอดสาร
ชนากานต์ พุทโธ กุพชกะ (ยา) เจ้าของฟาร์มแห่งการเรียนรู้ธรรมชาติ เกษตรสิ่งแวดล้อม และพื้นที่สีเขียวสำหรับคนเมืองคอนเซ็ปในการทำในการทำทุุุ่งเฮ็ดสนุกมีคีย์หลักมาจากคำว่า Field และ Mushroom เพราะเริ่มแรกก่อนจะมาเป็นฟาร์มแห่งการเรียนรูุ้เริ่มมาจากการเพาะเลี้ยงเห็ดแต่มันก็ยังไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขนาดนั้นพี่ยาเธอจึงมีการปรับรูปแบบการทำฟาร์มใหม่รวมไปถึงรูปแบบกิจกรรมและหันมาใส่ใจกิจกรรมที่พัฒนาเด็กมากขึ้นเธออยากจะทำให้ฟาร์มนี้มีความสนุกกับคนที่เข้ามามากขึ้นจึงเติมคำว่า Fun เข้าไปทำให้เกิดเป็นที่มาของ Field MUSH Fun ทุ่งเฮ็ดสนุก
จากความห่วงใยลูกนำมาสู่การพัฒนาธุรกิจฟาร์ม
พี่ยาเล่าให้ฟังว่าเธอมีลูกชายแล้วอยากจะให้เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมสีเขียวมีพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติได้กินอะไรดีๆแต่ด้วยความที่พื้นที่บ้านของเธอเองนั้นตั้งอยู่ในตัวเมืองซึ่งมันยากที่จะมีพื้นที่สีเขียวกว้างๆ เธอเลยเกิดไอเดียขึ้นมาว่า งั้นเราก็ทำฟาร์มหรือพื้นที่สีเขียวในเมืองไปเลยแล้วกัน จะได้มีสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับลูกบวกกับการหารายได้ไปในตัวเธออยากจะทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งอาหารออแกนิคสำหรับคนในเมืองให้ทุกคนได้มีแหล่งทานผักปลอดสารพิษซึ่งมันอาจจะไม่ได้ออแกนิคร้อยเปอร์เซ็นแต่เธอก็พยายามใช้แนวคิดที่ว่าเราจะปลูกผักให้ลูกหรือเพื่อนกิน นอกจากนี้เธอยังพยายามพัฒนาตัวกิจกรรมให้ที่หลากหลายมากขึ้นเปิดเป็น Natural Playground พาเด็กๆมาเรียนรู้ธรรมชาติในวันหยุดสุดสัปดาห์พาเด็กในยุคใหม่ออกห่างจากโซเชียวสักหน่อยแล้วหันกลับมามองลองสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
พื้นที่สีเขียวและสังคมเมืองควรจะโตไปพร้อมกัน
สิ่งหนึ่งเลยที่เธอรู้สึกว่าเป็นจุดเด่นของ Field MUSH Fun คือการมีพื้นที่ของฟาร์มอยู่ในเมืองเพราะทุกวันนี้เราต่างโหยหาพื้นที่สีเขียวในวันหยุดพักผ่อนแต่ด้วยความที่เมืองมันโตไปเร็วมากไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใดๆ มันทำให้พื้นที่สีเขียวที่เคยมี ถูกแทนที่ด้วยตึกขนาดใหญ่ พอถึงจุดหนึ่งธรรมชาติและมนุษย์เป็นสิ่งที่คู่กันเราก็อยากจะมีพื้นที่ให้ใช้ชีวิตสูดอากาสบริสุทธิได้เต็มปอดและการนำพื้นที่สีเขียวกลับเข้ามาในตัวเมืองใหญ่ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อคนเมือง ให้คนได้มีที่ร่มรื่นพ่อแม่สามารถพาลูกๆมาทำกิจกรรมในวันหยุดในพื้นที่ที่ปลอดภัย เธออยากให้ลูกค้าทุกคนที่เข้ามารู้สึกว่ามาเล่นบ้านเพื่อนในวันหยุด
ถูกเติมเต็มด้วยเด็กและสิ่งแวดล้อม
เธอรู้สึกภูมิใจกับการที่มีเด็กๆเข้ามาที่ฟาร์มเพราะมันเป็นเหมือนการเชื่อมต่อเด็กและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน เธอได้สังเกตจากตัวลูกชายที่มีความละเอียดอ่อนมากขึ้นเขาเข้าใจเรื่องขอสิ่งมีชีวิตอื่นไม่ไปทำร้ายมัน อะไรที่มันอันตรายเราก็จะสอนเขาว่ามันอันตรายนะไม่ควรเข้าไปใกล้ เด็กๆที่มาเธอรู้สึกว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ปลดปล่อยพลังได้เต็มที่อย่างน้อยเธอมองว่าการทำฟาร์มและ Natural Playground เป็นส่วนหนึ่งที่ให้เด็กๆได้มีกิจกรรมนอกห้องเรียนหรือกิจกรรมบนโลกโซเชียว
“การได้ทำฟาร์มหรือพื้นที่สีเขียวอยู่ในเมืองได้สร้างแหล่งอาหาร แหล่งเรียนรู้สำหรับคนเมืองก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี”
เปิด-ปิด : ทุกวัน
เวลา : 09.00 - 18.00 น.
โทร : 065 592 2351
Facebook : Field MUSH Fun ทุ่งเฮ็ดสนุก ความสุขปลอดสาร
2. Khon Kaen Green Market ตลาดสีเขียวขอนแก่น
จงกล พารา (กอล์ฟ) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ตลาดสีเขียวขอนแก่น ตลาดของเกษตรกรท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์ ผู้ผลิตอาหารปลอดสารพิษ และเป็นพื้นที่ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างผู้บริโภคและเกษตรกรโดยตรง จากนักพัฒนาเอกชนหรือ NGO ทางด้านคุ้มครองผู้บริโภค มันทำให้เห็นปัญหาของผลิตภัณฑ์ในตลาดที่มีอยู่มากมายเธอจึงอยากที่จะเปลี่ยยนแปลงให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้และด้วยจังหวะของชีวิตทำให้เธอได้มีโอกาสร่วมมือกับหลายๆฝ่ายผลักดันให้เกิดเป็นตลาดสีเขียวขอนแก่นขึ้นมาจนถึงปัจจุบันซึ่งเข้าสู่ช่วงปีที่ 8 ของตลาดแล้ว
การเกิดตลาดทางเลือกให้ผู้บริโภคในขอนแก่น
ย้อนกลับไปเมื่อ 8 ปีก่อนขอนแก่นยังไม่ได้มีตลาดทางเลือกมากบวกกับการที่เธอเยทำงานคุ้มครองผู้บริโภคมาก่อนและได้ลงพื้นที่ตลาดเพื่อสุ่มตรวจเรือ่งคุณภาพและสารปนเปื้อนแล้วพบว่ามันยังมีปัญหาอยู่เยอะสิ่งที่เราสุ่มตรวจเมื่อนานมาแล้วมันยังเจออยู่ในตลาดบางแห่งเธอจึงตั้งคำถามจากสิ่งที่เจอว่าผ้บริโภคสามารถมีทางเลือกอื่นๆให้เลือกซื้อได้ไหมบวกกับการทำงานของเธอที่ได้ร่วมมือกับชาวบ้านพัฒนาเรื่องการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเลยได้มีโอกาสรู้จักกับกลุ่มเกษตรกรรมทางเลือกจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกคนช่วยกันคิดว่าจะทำยังไงให้เกิดตลาดทางเลือกในขอนแก่นขึ้นมาซึ่งเธอก็ได้ความร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการจัดตั้ง ตลาดสีเขียวขอนแก่น ใช้เวลาในการปรึกษาประชุุมกันอยู่นานกว่า 10 เดือนจึงเกิดเป็นตลาดนี้ขึ้นมา ซึ่งในการจัดการของตลาดของจะมีหลากหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นคนทำงานผลักดัน เจ้าของพื้นที่ ทั้งจากรัฐและเอกชน
ระยะเวลา 8 ปีและการเรียนรู้ที่ได้จากตลาดสีเขียวขอนแก่น
ตั้งแต่ที่ก้าวเข้ามาทำตลาดทางเลือกพี่กอล์ฟเล่าว่าเธอได้เรีนนรู้อะไรหลายอย่างกับการก่อตั้งตลาดนี้มากเปรียบเหมือนเป็นครูคนนึงเลยก็ว่าได้ทำให้เห็นระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem) ตลาดมันไม่ได้ขายของแค่อย่างเดียวแล้วจบแต่มันมีเรื่องของความสัมพันธ์ทั้งคน สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ทางสังคม รวมไปถึงเรื่องรายได้ของพี่น้องชาวตลาด และสิ่งที่เธอได้รับจากการบริหารตลาดคือการเห็นความเติบโตของผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกรรมการที่มาจากหลายฝ่ายในช่วงแรกก็ยังต้องปรับเปลี่ยนเข้าหากันเยอะเพื่อที่จะหาตรงกลางของการทำตลาดพอเวลาผ่านไปทุกคนก็เข้าใจกันมากขึ้นเธอได้เเล่าต่ออีกว่าการเป็นคณะกรรมการของตลาดเขียวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะพวกเขาเหล่านั้นต้องเซ็ตมาตราฐานในการคัดเลือกผู้ประกอบการที่จะเข้ามาขายของว่าสินค้าผ่านมตราฐานไหมซึ่งก็เป็นอีกเรื่องที่เธอได้เรียนรู้จากมัน
พัฒนาแค่ด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่พอเราต้องพัฒนาสังคมไปด้วยกัน
สิ่งหนึ่งที่เรารู้สึกชอบในฐานะของผู้สัมภาษณ์คือการที่ตลาดเขียวมีการเรียนรู้และผลักดันในเรื่องของ low carbon ผู้ประกอบการที่มาขายของจะต้องอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ตลาด 50 กม. เพื่อช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มันก็ยังมีหลายรายที่อยู่ไกลแล้วอยากจะเข้ามาร่วม เธอจึงหาทางออกโดยการให้รวมกลุุ่มกันมาโดยใช้รถยนตร์ให้น้อยที่สุด เรื่องของขยะทางตลาดก็มีการจัดการทำขยะหมุนเวียนโดยนำเศษผักเศษอาหารต่างๆมาทำปุ๋ยเพื่อส่งต่อให้เกษตรกรไปใช้ต่อได้ นอกจากนี้ทางตลาดยังมีการรวบรวมผักผลไม้รับบริจาคเพื่อนำผักเหล่านั้นไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มคนเปราะบางในจังหวัดขอนแก่นในช่วงของสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา การพัฒนาตลาดและเติบโตไปพร้อมๆกันกับทุกคนทำให้เธอรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำสิ่งดีๆร่วมกันกับคนอื่นเพราะสุดท้ายแล้วสำหรับเธอ เธอไม่ได้ต้องการที่จะอยู่เพื่อตัวเองแต่กลับกลายเป็นว่าเธออิ่มใจมากกว่าที่ได้อยู่ช่วยพี่น้องชาวตลาด
“เราเป็นตลาดที่ไม่ใช่แค่การซื้อขาย แต่เป็นพื้นที่ของความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อม”
เปิดทุกวันศุกร์
เวลา : 15.00 - 19.00 น.
โทร :043 225 514
Facebook : Khon Kaen Green Market ตลาดสีเขียวขอนแก่น
3. Dotlimited
ณรงค์วิทย์ อารีมิตร (กอล์ฟ) และดุษฎี สุ่มมาตย์ (ดุษ) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Dotlimited ร้านชำรักษ์โลกและร้านรีฟิล Zero Waste ในเมืองขอนแก่น เริ่มต้นมาจากพาร์ทเนอร์หลายคนที่ตระหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและพยายามหาทางแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเราจะใช้ชีวิตยังไงเพื่อให้มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ประกอบกับบริบทในอีสานช่วงนั้นค่อนข้างมีร้านแนว Zero Waste น้อยทางทีมเลยคิดว่าถ้าหากมีร้านที่เป็นทางเลือกให้กับกลุ่มคนที่สนใจเรื่องนี้คงจะเป็นชุมชนเล็กๆที่สามารถสร้างการตระหนักรู้ให้คนในชุมชนได้มากขึ้น คอนเซ็ปเริ่มตั้งแต่การทำร้านที่คงความเป็นตัวบ้านเก่าไว้และปรับแต่งดีไซน์ให้เข้ากับตัวบ้านเดิมคงทรัพยากรเดิมที่สามารถใช้งานได้มันทำให้เห็นว่าตั้งแต่กระบวนการสร้างจนเปิดร้านทางทีมมีความใส่เรื่องสิ่งแวดล้อมทุกขั้นตอน
ผลิตภัณฑ์เพื่อตัวเราและสิ่งแวดล้อม
จากคอนเซ็ปเรื่องสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงมาสู่ตัวผลิตภัณฑ์ภายในร้านไม่ว่าจะเป็นพวกของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนที่ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้ด้วยซโดยผู้ที่ต้องการซื้อจะต้องนำขวดมาเติมเอง นอกจากของใช้ภายในชีวิตประจำวันแล้วยังมีพวกขนมต่างๆที่สามารถมาตักหรือกดได้เอง ทางร้านได้ต่อยอดขึ้นมาให้มีผลิตภัณฑ์ภายในร้านเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้ใครหลายๆคนย้อนกลับไปคิดถึงร้านขายของชำสมัยเรายังเด็กที่สามารถซื้อบ๋วยหรือขนมหวานที่ตักจากโหล การใช้วิธีนี้ก็จะช่วยทำให้เกิดขยะน้อยลงอีกด้วย ร้านเองก็ยมีสินค้าตัวอื่นๆที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าอีกหลายตัว
การปรับตัวของธุรกิจสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์โควิด-19
สองปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการเกือบทุกธุรกิจคงหนีไม่พ้นการเจอกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงักและต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ ธุรกิจสิ่งแวดล้อมแบบร้าน Dotlimited ก็หนี้ไม่พ้นเช่นกัน แต่ทุกปัญหาต้องมีทางแก้ไขทางร้านได้มีการปรับตัวเยอะเหมือนกันแต่จะทำยังไงให้การปรับตัวครั้งนี้ยังไม่ละทิ้งแนวคิดหลักทำยังไงธุรกิจถึงจะไม่เกิดการสร้างขยะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมถ้าเขาตีโจทย์แค่ว่าร้าน Zero Waste ต้องมีแค่มาเติมที่ร้านเท่านั้นมันไม่สามารถตอบโจทย์สังคมในสถานการณ์แบบนี้ได้ เขาจึงหาทางออกโดยเริ่มคิดจากปัญหาของร้านที่พบเจอไม่ว่าจะเป็นเรื่องการที่คนไม่สามารถออกมานั่งทานอาหารหรือออกมาข้างนอกได้ เขาจึงปรับเปลี่ยนมาเป็นการส่งแบบเดลิเวอรี่แต่จะไม่ทำให้เกิดขยะโดยการมีทีมส่งเป็นของร้านเอง มีภาชนะที่ใส่อาหารที่สามารถล้างและนำกลับมาใช้ใหม่ได้แทนที่จะเป็นถุงพลาสติก น้ำปั่นหรือเครื่องดื่มก็จะใส่ขวดแก้วที่สามารถล้างได้และนำกลับมาใช้ใหม่ พอคนสั่งรอบถัดไปเราก็จะนำกล่องหรือขวดเดิมกลับมาวนใช้ซ้ำ ทำให้เกิดเป็นกิจวัตรจนลูกค้าของเราชิน
ร้าน Zero Waste ที่เป็นมากกว่าร้านเติมของรีฟิล
จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นเลยว่าร้าน Zero Waste มันมากกว่าการนำภาชนะมาเติมของรีฟิลหรือขายของที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแต่มันทำให้เห็นเลยว่ามันมีวิถีชีวิตอื่นที่ต้องปรับให้เข้ากับบริบทของสังคม คุณกอล์ฟและทีมเลยคิดต่อยอดเรื่องของการสร้างชุมชนคนรักสิ่งแวดล้อมในขอนแก่นเล็กๆขึ้นมาผ่านรูปแบบกิจกรรมที่ไม่ว่าจะเป็นเวิร์คช้อปหรือการให้ความรู้ในเรื่อง Zero Waste แต่มันก็ยังมีความยากลำบากด้วยสถานการณ์เองที่บังคับให้จำกัดจำนวนคนในการเข้าร่วมแต่ละกิจกรรม คุณกอล์ฟยังแชร์เรื่องราวความประทับใจของการต่อยอดกิจกรรมคือ การพาเด็กๆมาร่วมทำกระเป๋าผ้าจากสีธรรมชาติในวันเด็กแทนการให้ไปทำกิจกรรมแบบเดิมๆที่มันสร้างการเกิดขยะได้เยอะกว่า มันเป็นเหมือนการปลูกฝังเขาในเรื่องสิ่งแวดล้อมไปในตัว
“ถ้าแง่ของเรื่องกำไรมันอาจจะไม่ได้เยอะแต่สิ่งที่มันส่งผลกับสังคมมันดีกว่ากำไรที่เราได้มาอีก”
จากการได้พูดคุยกับคุณกอล์ฟทำให้เราเห็นเลยว่าบางครั้งการทำธุรกิจเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกันกำไรอาจจะไม่เยอะเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นในตลาดแต่สิ่งหนึ่งเลยที่ทำให้มันยังดำเนินต่อไปได้คือความมุ่งมั่นทั้งของคุณกอล์ฟและทีมเองที่อยากจะพัฒนาสังคม ชุมชน ในขอนแก่นเองให้หันมาตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน
เปิดทุกวัน
เวลา : 10.00 - 19.00 น.
โทร : 081 984 8700
Facebook : Dotlimited
.
.
ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านรวมไปถึง Storyteller ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ใหม่ๆให้กันเกิดเป็น Community ของคนรักสิ่งแวดล้อม อาจจะไม่ได้ใหญ่มากแต่มันก็มีความสนุกสนานและแฝงไปด้วยความอบอุ่นที่ทุกคนมอบให้กัน
.
.
ติดตาม Lifebrary ห้องสมุดชีวิต ในหมวดหมู่ธุรกิจสร้างสรรค์ประเภทอื่น ๆ ได้ทาง Facebook Page: TCDC Khon Kaen
Comments